โอทอป สินค้าชุมชน
สถานที่พัก
สถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
กระดานเสวนา(Q&A)
ติดต่อ-สอบถาม
ระบบ e-Service
Backoffice
หน้าหลัก
Home
ข้อมูลทั่วไป
Information
บุคลากร
Personnel
แผนพัฒนา
Plan
งานการคลัง
Finance
รายงาน
Report
ศูนย์ข้อมูล
Data Center
 
  เทศบาลตำบลหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ : www.hokhum.go.th
 
 



อำนาจหน้าที่

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของเทศบาลตำบล 

อํานาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กําหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจําแนกที่มาของ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวได้คือ
1. อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกําหนด
     สามารถแบ่งแยกประเภทอํานาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ อํานาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ 
มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
3.รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
4.ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5.ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6.ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7.ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
8.บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
9.หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทางบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
 
มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
1.ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2.ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.ให้มีสุสานหรือฌาปนสถาน
5.บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
7.ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.เทษภานิชย์
 
2. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ
     มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 
(2) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 
(4) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ 
(5) การสาธารณูปการ 
(6) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ 
(7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 
(8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
(9) การจัดการศึกษา 
(10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 
(11) การบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 
(12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 
(13) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 
(14) การส่งเสริมกีฬา 
(15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
(16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 
(17) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 
(18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย 
(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 
(20) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 
(21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 
(22) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 
(23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ
        และสาธารณสถานอื่น ๆ 
(24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
(25) การผังเมือง 
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 
(27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ 
(28) การควบคุมอาคาร 
(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
(30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ         ทรัพย์สิน 
(31) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
3. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกำหนด
    นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
– พระราชบัญญัติ การขุดและถมดิน พ.ศ.2543
– พระราชบัญญัติ ป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464
– พระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติ สาธารณสุข พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติ ควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490
– พระราชบัญญัติ ควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
– พระราชบัญญัติ ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495
– พระราชบัญญัติ ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติ ควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติ จัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503
– พระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
– พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ.2510
– พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ.2518
– พระราชบัญญัติ ควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
– พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติ รักษาคลองประปา พ.ศ.2526
– พระราชบัญญัติ สุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือใน     แม่น้ำลำคลอง)
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
– ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่าง     เปล่าตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498
- จำนวนผู้เข้าชม จำนวน 1535760 คน ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2561 - ปัจจุบัน